The power of a little story that can change the world
01 Our Blog
เมื่อปีที่แล้วได้ทำโปรเจ็คช่วยให้ร้านค้าออนไลน์มีเวปไซต์ โดยขณะนั้นได้ดูเทคโนโลยีของ Magento 2.1 CE. ซึ่งเป็น CMS (Content Magement System) ที่ได้รับความนิยมมาก จนเมื่อปีที่แล้ว Adobe ได้ซื้อกิจการไปอยู่ภายใต้ Adobe เรียบร้อย
ทำไมถึงเลือก Magento จริงๆ CMS ที่ยอดนิยมอื่นๆอย่าง Wordpress , WooCommerce, Drupal ก็สามารถที่จะสร้าง Web-Ecommerce site ได้ไม่ยาก แต่เมื่อดูถึง Technology Stack แล้ว พบว่า Magento มีข้อดี หลายอย่าง
และ Community ในต่างประเทศค่อนข้าง Active มาก
ข้อดี
- PWA (Progressive Web App) เนื่องจาก Magento มี Community นักพัฒนาที่แข็งแรง ซึ่งทำให้ Community Edition นั้นพัฒนาเร็ว ) ปีที่แล้ว PWA เป็นเทรนด์มาก เพราะหากต้องพัฒนา E-Commerce site แล้ว ต้องพัฒนา Mobile App อีก จะเปลืองแรงและเงินค่าพัฒนา 2 ต่อ
พอหาข้อมูลดูแล้วพบว่า Magento ดูมีความหวังสุดที่จะพัฒนาไปแนวทางนี้ ซึ่งปัจจุบันนี้ Magento 2.3 นั้นซัพพอร์ท PWA แล้ว
- Speed Magento นั้นมีดีไซน์ Architecture ที่ดีมาก สามารถปรับโหมดการพัฒนาและโหมดใช้งานจริงได้ เมื่อลองปรับโหมดใช้งานจริงแล้ว Response time ดีขึ้นเยอะมาก
- Magento เป็น CMS ที่พัฒนาเพื่อทำ E-Commerce โดยเฉพาะ ซึ่ง CMS ตัวอื่นอย่าง Wordpress จุดประสงค์หลักคือการทำ Blog แต่มาเพิ่มความสามารถในการทำ E-Commerce ภายหลัง เมื่อดูจาก Technology ที่ Magento ใช้แล้ว การออกแบบต่างๆซัพพอร์ตการทำ E-Commerce แบบโดยตรง
ข้อเสีย
- เทคโนโลยี ซับซ้อน ต้องมีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีหลายเรื่อง เพราะมีการใช้ Tech Stack สมัยใหม่
- ในไทยไม่ค่อยมีนักพัฒนา หาคนพัฒนายาก
- ติดตั้งยุ่งยากพอสมควร เทียบกับ CMS ตัวอื่น
เมื่อชั่งน้ำหนักดูแล้วก็คิดว่าข้อดีนั้นมากกว่า คุ้มค่าที่จะลงไปศึกษา CMS ตัวนี้อย่างจริงจัง
อ้างอิงจาก https://www.dckap.com/blog/migrate-to-magento-2/
https://www.webdux.com/magento-2-technology-stack-748.html
Tech Stack ของ Magento นั้น ประกอบด้วย
1. PHP - เป็น Server side Interpretor ที่มาตรฐาน แต่ทว่า Magento แต่ละ Version นั้น Support PHP แตกต่างกัน ก็อาจจะมีความยุ่งยากในการ Installation และ Upgrade อยู่บ้าง
2. Composer - เป็นตัวช่วยในการติดตั้ง Module ต่างๆของ Magento
3. LESS - เป็นภาษา Pre-process ตัว CSS ที่ใช้ทำ Front-end ให้สามารถเขียนโปรแกรมเล็กๆเข้าไปได้ ทำให้ จัดการ Front-End ได้อย่างมีระบบมากขึ้น
4. Radis - เป็น memory processing ตัวนึงที่ช่วยให้ Magento ทำงานเร็วขึ้นโดยการไปเก็บ session แทนที่จะส่งผ่าน web server ก็ช่วยให้ server ลดรัพยากรในการ handle session ลง (ต้องการการเซตอัพเพิ่มเติม)
5. VANISH - เป็นตัวช่วยทำ Cache ให้เวปโหลดเร็วขึ้น (ต้องการการเซตอัพเพิ่มเติม)
6. MySQL - Database Magement ยอดนิยม
เรียกว่ามีเครื่องไม้เครื่องมือมาให้ครบเลยล่ะ แถมยังเป็น Tech Stack สมัยใหม่ เทียบกับที่เคยลองใช้ Wordpress แล้ว Magento เรียกว่า ไฮโซไปเลย
ตอนหน้าจะนำเรื่องการติดตั้งมาอธิบายกัน แม้ว่ายุคนี้มีเครื่องมือที่เป็น Image มาให้พร้อม แต่โปรแกรมเมอร์สายคลาสสิกอย่างที่ CORECELL นั้น เน้นทำมือเป็นหลัก พอมีปัญหาต่างๆเราก็จะสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที แล้วพบกันใหม่ครับ